top of page

4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9


4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS 9
4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

TFRS9 เป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ว่าด้วยเรื่องของ เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instrument) ที่เริ่มนำมาปฏิบัติใช้ในประเทศไทยเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจาก TFRS9 คือกลุ่มกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกัน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงที่ทุกบริษัทต้องปรับตัว และเตรียมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่องบการเงินจาก TFRS9 นั้นได้แก่การเปลี่ยนแปลงวิธีการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน จากเดิมที่ต้องรอให้มีข้อบ่งชี้เกิดขึ้นก่อน จึงจะเริ่มตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance) แต่ในมาตรฐานฉบับใหม่ (TFRS9) เปลี่ยนเป็น ตั้งสำรองการด้อยค่าเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านเครดิตตั้งแต่วันแรกที่รับรู้รายการ โดยที่ไม่ต้องรอให้เกิดข้อบ่งชี้ เรียกว่า การประเมินผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) และต้องมีการพิจารณา Forward–looking View

ทีมงาน ABS นำโดยอาจารย์ทอมมี่ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมการเงิน มีประสบการณ์ในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และการประเมิน ECL ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (TFRS9) กว่า 300 บริษัท จึงได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

1. สมมติฐานที่มีความละเอียด สมเหตุสมผล และสะท้อนความเสี่ยงที่เหมาะสมกับบริษัท

4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS 9
4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

สมมติฐานที่ใช้ในการประเมิน ECL ทั้ง ความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระ (Probability of Default: PD) และ อัตราการได้รับชำระคืนภายหลังเกิดการผิดนัดชำระ (Recovery Rate) ที่ประเมินโดย ABS จะพิจารณาจากข้อมูลลูกหนี้คงค้างของบริษัทย้อนหลังไปเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้ของเฉพาะบริษัทนั้น ๆ ทำให้สามารถ สะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ที่บริษัทเคยผ่านมาได้ทำให้ ECL ที่ประเมินได้จึงมีความเหมาะสม และแม่นยำ สอดคล้องกับความเสี่ยงที่บริษัทกำลังเผชิญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ตามมาตรฐาน TFRS9


2. Forward–looking View ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระ

4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS 9
4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

แบบจำลองของ ABS มีการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic Variables: MEV) โดยนำสถิติของตัวแปรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาหา ความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระ (Probability of Default: PD) ผ่านวิธีการทางสถิติต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปถึงอนาคตอันใกล้ ทำให้ Forward–looking View ที่ได้มีผลการวิเคราะห์ทางสถิติมารองรับ และส่งผลให้สมมติฐานที่ใช้ในการประเมิน ECL มีความเหมาะสมกับบริษัทที่ต้องการประเมิน ECL ตามมาตรฐาน TFRS9

3. การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของสมมติฐาน (Sensitivity Analysis)

4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS 9
4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของสมมติฐาน คือการปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ที่ในการประเมิน ECL ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของสมมติฐาน จะทำให้ผลลัพธ์ของการประเมิน มีความครอบคลุมสถานการณ์ในช่วงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งทางบริษัทที่เข้ามาประเมิน ECL กับทาง ABS สามารถเลือก ใช้ผลลัพธ์ให้เหมาะสมตามดุลยพินิจของผู้บริหารของบริษัทได้

4. ความสะดวก รวดเร็ว ในการติดต่อคณะที่ปรึกษาเพื่อสอบถามข้อสงสัย

4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS 9
4 เหตุผล ที่ ABS ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้สอบบัญชี ให้ประเมิน ECL ตาม TFRS9

คณะที่ปรึกษาของทาง ABS มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาและตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับสมมติฐานและผลลัพธ์การประเมิน และ ข้อบังคับตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (TFRS9) ให้แก่ทางบริษัท และ ผู้สอบบัญชี อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถออกรายงานและจัดทำงบการเงิน ได้ตามกำหนด


สนใจประเมิน TFRS9 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ประสบการณ์ยาวนานและประเมินจริงกว่า 300 บริษัท ด้วยความคุ้มค่าเกินราคา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณศุภิชา (087-100-7199) หรือ อาจารย์ทอมมี่ (082-899-7979)


ตัวอย่างรายชื่อลูกค้า (Our Clients) สามารถดูตัวอย่างเสียงตอบรับจากผู้ใช้บริการการประเมินของเราได้ที่

 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

Comments


bottom of page